คุณสมบัติ บุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง มีอะไรบ้าง- เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี 2567          คลิกที่นี่

บทความ

คุณสมบัติ บุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง มีอะไรบ้าง




ตามที่ ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่องกำหนดคุณสมบัติ หลักสูตร ระยะเวลาการฝึกอบรม และหน้าที่ของบุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง พ.ศ. 2564

" บุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง "

บุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง (Transport Safety Manager : TSM) คือบุคลากรเฉพาะด้านที่รับผิดชอบในการวางแผน และควบคุมกำกับดูแลความปลอดภัยในการขนส่ง รวมทั้งมีแผนการจัดการและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน ผู้ประกอบการขนส่งทุกราย ทั้งผู้ประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ผู้ประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ผู้ประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ และผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล จะต้องจัดให้มีบุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง (TSM) ขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดของผู้ประกอบการขนส่ง
โดยบุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง (TSM) มีหน้าที่หลัก 5 ด้าน ได้แก่ การจัดการรถ การจัดการผู้ขับรถ การจัดการการเดินรถ การจัดการการบรรทุกและรถโดยสาร และการบริหารจัดการการวิเคราะห์และประเมินผล เพื่อให้การขนส่งเป็นไปด้วยความปลอดภัย และลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจากการขนส่งทางถนนในระยะยาวอย่างยั่งยืน ซึ่งจะต้องผ่านการฝึกอบรมและทดสอบในหลักสูตรที่มีมาตรฐาน ตามระยะเวลาที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด คือ
หลักสูตรการอบรมบุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง (Transport Safety Manager : TSM) โดยมีระยะเวลาการอบรม รวม 18 ชั่วโมง ประกอบด้วย 8 หัวข้อวิชา ได้แก่
- ความปลอดภัยในการประกอบการขนส่ง
- กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบการขนส่ง
- การบำรุงรักษารถและการตรวจความพร้อมของรถ
- การจัดการพนักงานขับรถ
- การวางแผนและปฏิบัติการเดินรถ
- ความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร
- การจัดการเหตุฉุกเฉิน
- การวิเคราะห์และป้องกันอุบัติเหตุ

" อยากเป็นบุคคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่งต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง "


" บุคคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่งต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ "

  • มีสัญชาติไทย
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์
  • ไม่เคยถูกยกเลิกการขึ้นทะเบียนเป็นบุคลากรความปลอดภัยในการขนส่งเว้นแต่ได้ถูกยกเลิกมาแล้ว 3 ปีนับแต่วันที่ถูกยกเลิกขึ้นทะเบียนครั้งหลังสุด


" หลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง ให้มีระยะเวลาการฝึกอบรมดังต่อไปนี้ "

  • บุคคลทั่วไป ระยะเวลาการฝึกอบรม จำนวน 18 ชั่วโมง
  • ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงาน ระยะเวลาการฝึกอบรม จำนวนไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
  • ผู้มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้านการขนส่งทางถนน มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ระยะเวลาการฝึกอบรม จำนวนไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
  • ผู้ขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนเป็นบุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง ระยะเวลาการฝึกอบรม จำนวนไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง


( ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมตาม (2) (3) และ (4) สามารถเลือกหัวข้อวิชาอบรมตามหลักสูตร การฝึกอบรมบุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่งได้ตามความประสงค์ )



" ผู้ที่จะได้ขึ้นทะเบียนบุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ "

  • ต้องเข้ารับการฝึกอบรุมตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กำหนด
  • ต้องผ่านการทดสอบความรู้ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
  • ต้องได้คะแนนรวมตั้งแต่ ร้อยละ 70 ขึ้นไปถือว่าผ่าน
  • กรณีไม่ผ่านการทดสอบความรู้ให้ทดสอบแก้ตัวได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง ภายใน 90 วัน
  • หากไม่ผ่านการทดสอบอีกให้เข้ารับการฝึกอบรมและทดสอบใหม่
สมัครสมาชิก
สมัครสมาชิกวันนี้ ! เพื่อรับข่าวสารอัปเดตกฎหมายก่อนใครและรับสิทธิพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย จองอบรมตอนนี้

Comments


businessman

โปรโมชัน
อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย

อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย ในราคาสุดคุ้ม! โปรโมชั่นลดสูงสุด 30% เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567

บทความล่าสุด
อัปเดตวิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

อัปเดต! วิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ประกาศจากกรมสวัสดิการล่าสุด

ประกาศจาก กสร. เรื่องการเทียบเท่าวุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรี อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

บทความยอดนิยม
อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงาน,อันตรายจากการทํางาน มีอะไรบ้าง,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก รถโฟล์คลิฟท์ forklift 2564

นายจ้างต้องรู้! กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก 2564

แบ่งปัน
ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai